Toggle navigation
ปีแห่งการเป็นประธานอาเซียนของประเทศเวียดนาม: ความพยายามเพื่อความร่วมมือและปรับตัวของอาเซียน
11/12/2020 | 09:00 GMT+7
Share :
หลังจากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 37 และการประชุมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้จบลงภายหลังวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นเวลาที่ประจวบเหมาะอย่างยิ่งที่จะทบทวนบทบาทของเวียดนามในฐานะเป็นประธานอาเซียนปี 2563 ด้วยสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยสิ่งท้าทายและความยากลำบาก การประชุมสุดยอดกว่า 20 ครั้งพร้อมเอกสารจำนวนกว่า 80 ฉบับ เวียดนามได้บรรลุภารกิจอย่างดียิ่งในบทบาทผู้นำการขับเคลื่อน การทำงานและความสามัคคีของสมาชิกอาเซียน เพื่อเตรียมความพร้อมให้อาเซียนได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่อย่างมั่นใจและยั่งยืน
จาก: matichon.co.th

ปีแห่งการผันผวนที่ไม่เคยมีมาก่อนในภูมิภาคและทั่วโลก

ประวัติศาสตร์โลกจะบันทึกไว้กับปี พุทธศักราช 2563 ที่กำลังจะจบลงว่าเป็นปีที่เต็มไปด้วยเหตุการณ์ที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ที่ได้เกิดขึ้นเหนือความคาดการณ์ใด ๆ ซึ่งได้สร้างความเสียหายเป็นอย่างมหาศาล และส่งผลกระทบในหลายๆ ด้านอย่างเป็นวงกว้าง ต่อชีวิตความเป็นอยู่ การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมในประเทศต่าง ๆ รวมถึงระดับโลก อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อนโยบายบริหารภายในประเทศและนโยบายการต่างประเทศของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกพร้อมความเปลี่ยนแปลงในระดับโลกอย่างเป็นวงกว้างและรวดเร็ว บริบทดังกล่าวได้นำมาสิ่งท้าทายและความยากลำบากเป็นอย่างยิ่งแก่ประเทศเวียดนามในขณะที่ได้รับมอบหมายจากประเทศสมาชิกต่าง ๆ ที่จะดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนและสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UN) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนึ่งในโจทย์ใหญ่ของอาเซียนที่เวียดนามต้องเผชิญหน้าในฐานะเป็นประธานอาเซียนคือทำอย่างไรเพื่อจะรักษาไว้ระดับความร่วมมืออันดี และส่งเสริมให้มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเสริมสร้างบทบาทเป็นศูนย์กลางและเป็นแกนนำของอาเซียนในกลไกความร่วมมือต่าง ๆ ในภูมิภาคในเวลาเดียวกัน

อาเซียนรวมกันเป็นหนึ่ง พร้อมปรับตัวเชิงรุก และรับมือกับความท้าทาย

ในฐานะประธานอาเซียน เวียดนามได้ร่วมมือกับประเทศสมาชิกในการตอบสนองต่อวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จนบรรลุผลสำเร็จ 2 อย่างในเวลาเดียวกัน ได้แก่การร่วมมือเพื่อหาแนวทางการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น และต่อยอดการดำเนินการเสริมสร้างประชาคมอาเซียนในกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ที่ได้ตั้งไว้

ผลกระทบจากวิกฤตการโควิด-19ได้ทำให้การประชุมสุดยอดไม่สามารถจัดขึ้นได้ตามแผนการที่วางไว้ แต่อย่างไรก็ตามเวียดนามได้ร่วมมือเชิงรุกกับประเทศสมาชิกและพันธมิตรเพื่อการจัดการประชุมทางไกลและสัมมนาแบบกึ่งออนไลน์ (การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 36 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 37 การเจรจาในขั้นตอนการลงนามความตกลง RCEP) เพื่อให้เป็นไปตามกำหนดเวลาและมีประสิทธิภาพด้วยกิจกรรมมากกว่า 550 กิจกรรมในทุกระดับ โดยมีกิจกรรมระดับสูง 7 กิจกรรม กิจกรรมระดับรัฐมนตรีจำนวน 55 กิจกรรม และเอกสารประกอบการประชุมที่ได้ร่างขึ้นในระบบออนไลน์ทั้งหมดมีมากถึง 80 ฉบับ (ถือได้ว่าเป็นครั้งที่มีการประชุมทและชุดเอกสารประกอบการประชุมมากที่สุดในประวัติศาสตร์ที่มีมาก่อน)

นอกจากนี้ประเทศเวียดนามยังร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาซียน และประเทศหุ้นส่วนอื่น ๆ ในการผลักดันข้อริเริ่มต่าง ๆ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และดำเนินการแผนการฟื้นฟูรวมกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการการเดินทางให้แก่ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร นักลงทุนเพื่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อ ระบบการผลิต การจัดจำหน่าย ห่วงโซ่การค้า และสามารถส่งเสริมให้มีการฟื้นฟูการผลิต สร้างอาชีพและรายได้ให้กับผู้ใช้แรงงาน ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ส่งเสริมความสามัคคีและความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก และส่งเสริมความร่วมมือภายในอาเซียนในการรับมือกับโรคโควิด-19 ตามเจตนารมณ์ "กระชับความสัมพันธ์ เตรียมความพร้อมเชิงรุก เพื่อการปรับตัวที่ดี" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งทำให้การเจรจาข้อตกลง RCEP ได้เกิดผลสำเร็จในที่สุด

ความสำเร็จ

ในปี พุทธศักราช 2563 อาเซียนมุ่งเน้นในการส่งเสริมบทบาทของสตรี  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสูง การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ของโลกและภูมิภาคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ภาพลักษณ์และบทบาทของอาเซียนโดดเด่นขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาเซียนได้เจรจาและลงนามในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) อย่างเป็นผลสำเร็จ แสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของอาเซียนในการผลักดัน และส่งเสริม ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับพหุภาคีในภูมิภาคที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาลัทธิปกป้องการค้า และลัทธิเอกภาคีนิยมที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นอกเหนือจากนั้นอาเซียนยังได้ประสบความสำเร็จในการจัดทำระบบดัชนีอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการเชื่อต่อระบบชำระด้านการเงินในภูมิภาค ส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์กับประเทศหุ้นส่วน ซึ่งทำให้บทบาทของอาเซียนได้ยกระดับที่ดีขึ้นในเวทีโลก

ในการเผชิญหน้ากับความท้าทายจากวิกฤตการโควิด-19 อาเซียนได้ส่งเสริมและเสนอข้อริเริ่มต่าง ๆ ที่เป็นสามารถใช้ได้จริงและเป็นประโยชน์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อาทิ กองทุนโควิด-19 คลังเก็บวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ฉุกเฉิน กรอบยุทธศาสตร์อาเซียนในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ในขณะเดียวกันได้มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ และใช้กลไกความร่วมมือต่าง ๆ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรครวมถึงมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจต่าง ๆ หลังจากการแพร่ระบาด

นอกเหนือจากความร่วมมือในการรับมือกับโรคระบาดแล้ว อาเซียนและประเทศหุ้นส่วนยังให้ความสำคัญกับประเด็นความมั่นคงทางทะเล ความปลอดภัยและเสรีภาพการเดินเรือในทะเลจีนใต้อีกด้วย แถลงการณ์ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 37 ได้รับความเห็นชอบโดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย และเสรีภาพในการเดินเรือและการบินข้ามทะเลในทะเลจีนใต้ อาเซียนได้แสดงความกังวลต่อความเคลื่อนไหวต่าง ๆ อาทิ การส้รางสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ที่ร้ายแรงอื่น ๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดความตึงเครียด บันทอนความไว้เนื้อเชื่อใจกันในภูมิภาค แล้วยังทำลายสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาค รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลปี 1982 (UNCLOS 1982) ภายใต้หลักการที่ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ทำให้เกิดการแข่งขันทางการทหาร และไม่สร้างสถานการณ์ที่อาจจะก่อให้เกิดข้อพิพาทหรือความตึงเครียดมากขึ้น และยึดมั่นในการใช้สันติวิธีเพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทต่าง ๆ ตามกฎหมายระหว่างประเทศรวมถึง UNCLOS 1982

ความพยายามของเวียดนามได้รับการยอมรับและชื่นชมจากประเทศสมาชิกต่าง ๆ ในอาเซียน โดยท่านวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซียได้ชื่นชมบทบาทสำคัญของเวทีประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน หรือEAS ในการร่วมมือแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงในระดับภูมิภาคและระดับโลก และแสดงความเห็นด้วยกับหลักการต่าง ๆ ใน "แถลงการณ์ฮานอย" รวมถึงแสดงความยินดีและการสนับสนุนกับความคิดริเริ่มและวาระการประชุมที่สำคัญ ๆ ของเวียดนามในฐานะประธานอาเซียนปี 2563 อีกทั้งยังชื่นชมความคิดริเริ่มของเวียดนามในการจัดประชุม "ความร่วมมือระหว่างองค์การสหประชาชาติกับองค์กรระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาคในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ: บทบาทของอาเซียน" ที่ได้จัดขึ้นมาเป็นครั้งแรกในประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในเดือนมกราคม ปี 2563  ที่ผ่านมา ณ นครนิวยอร์ก

สามารถกล่าวได้ว่า เวียดนามได้ทำหน้าที่เป็นประธานอาเซียนในปี 2563 อย่างสำเร็จโดยได้กรับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหน่วยงานต่าง ๆ ของอาเซียน ซึ่งผลสำเร็จดังกล่าวได้สร้างแรงผลัดดันที่ดีต่ออาเซียนไม่ว่าจะเป็นทางอ้อมหรือโดยตรงที่จะทำให้อาเซียนได้ก้าวกระโดดไปข้างหน้าหลังจากการพัฒนาตลอดระยะเวลา 5 ทศวรรษที่ผ่านมา และอาเซียนสามารถชี้ให้เห็นถึงความสามัคคี การพัฒนาขีดความสามารถด้วยตัวเอง และความสามารถในการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในภาวะ "ความปกติใหม่" ในประเทศและในระดับโลก.

Vglobalnews
Share :
Từ khóa:
Other news
Gửi thảo luận trên Facebook