Toggle navigation
ได้เวลาที่อาเซียนต้องพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
16/11/2020 | 05:55 GMT+7
Share :
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งออกเป็นสองส่วนที่มีจำนวนประเทศในภูมิภาคเท่ากัน ประกอบด้วยกลุ่มประเทศที่อยู่บนภาคพื้นทวีปเอเชียและกลุ่มประเทศชายฝั่งทะเลต่าง ๆ ซึ่งลักษณะดังกล่าวถูกธรรมชาติกำหนดให้แก่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ส่งผลกระทบต่อวิวัฒนาการณ์ด้านประวัติศาสตร์ ภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงความสัมพันธ์ด้านการเมืองและความมั่นคงของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาโดยตลอด
ในด้านความมั่นคง ประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนไม่ว่าจะเป็นกลุ่มประเทศบนภาคพื้นเอเชียหรือกลุ่มประเทศชายฝั่งทะเล กำลังเผชิญหน้ากับภัยคุกคามต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบความมั่นคงแบบดั้งเดิมและความมั่นคงรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะสิ่งท้าทายด้านความปลอดภัยทางทะเล ในเขตทะเลจีนใต้ ความมั่นคงทรัพยากรทางน้ำ ความมั่นคงด้านอาหารในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้กลายเป็นสิ่งท้าทายที่จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญต่ออาเซียน ในฐานะที่เป็นองค์กรที่เป็นศูนย์กลางในโครงสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคและอนาคตของภูมิภาค

เวียดนามเตรียมชูประเด็น ‘การจัดการแม่น้ำโขง’ บนเวทีอาเซียน
ที่มา:www.seub.or.th

ความสำคัญของแม่น้ำโขงต่ออาเซียน

แม่น้ำโขงมีความยาวทั้งหมด 4,350 กิโลเมตร เป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญ ที่มีผลกระทบต่อประชากรอาเซียนราว 60 ล้านคน ที่อาศัยตามแนวลุ่มแม่น้ำโขง โดยในเวียดนามมีประมาณ 80-90%จำนวนข้าวเพื่อการส่งออกทั้งหมดของประเทศผลิตจากพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง ในขณะเดียวกันแม่น้ำโขงยังเป็นแหล่งน้ำสำคัญของทะเลสาบในกัมพูชาที่เป็นแหล่งผลิตอาหารสัตว์ถึง 60% มูลค่าของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์น้ำในลุ่มแม่น้ำโขงมีมากถึง 17 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี นอกจากเป็นเส้นเขตแดนธรรมชาติระหว่างไทยและลาวแล้ว ยังมีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ความและความอุดมสมบูรณ์สำหรับประชากรหลายล้านคนอีกด้วย 

Richard Cronin ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ Stimson สหรัฐอเมริกาได้ประเมินว่า หากเวียดนามและไทยไม่สามารถผลิตข้าวอย่างเพียงพอ อาจจะมีคนจำนวนมากที่ต้องเผชิญหน้ากับความอดอยาก ในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย การพัฒนาบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียนที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญในการร่วมมือ เพื่อการพัฒนาที่ความยั่งยืนอย่างที่อาเซียนได้ประสบความสำเร็จในการผลักดันประเด็นข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ ซึ่งได้กลายเป็นวาระการประชุมที่สำคัญในหลาย ๆ เวทีระดับโลก โดยที่ประเทศคู่กรณีต่าง ๆ ในอาเซียนจะต้องไม่ถูกกดดันหรือบีบบังคับไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม ให้สละกรรมสิทธิ์ของตนในการเรียกร้องเหนือเขตพื้นที่ดังกล่าวที่ถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศ

การที่อาเซียนสามารถรักษาความสมานฉันท์ของประเทศสมาชิกต่าง ๆ ในประเด็นข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ ถือว่าเป็นความสำเร็จที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นศูนย์กลางในการรักษาความสามัคคีและผลประโยชน์ที่ถูกต้องของประเทศสมาชิกต่าง ๆ โดยปฏิเสธแนวคิดที่ว่า ประเด็นดังกล่าวเป็นเพียงปัญหาเฉพาะตัวเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มประเทศชายฝังทะเลแต่เพียงอย่างเดียว รวมถึงประสบความสำเร็จในการส่งเสริมกลไกความร่วมมือต่าง ๆ ในภูมิภาค 

ที่มา:www.seub.or.th

กลไกความร่วมมือในลุ่มแม่น้ำโขง: ไม่ลงตัวและขาดประสิทธิภาพ

ปัจจุบันอาเซียนมีความร่วมมือระดับภูมิภาคในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงทั้งหมด 12 กลไก โดยมีความร่วมมือภายในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง 4 กลไก และอีก 8 กลไกเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศลุ่มแม่น้ำโขงและประเทศหุ้นส่วนนอกภูมิภาค อย่างไรก็ตามกลไกต่าง ๆ เหล่านี้ไม่เพียงพอและค่อนข้างขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากความขาดแคลนด้านทรัพยากรมนุษย์และความแตกต่างด้านผลประโยชน์ของแต่ละประเทศ รวมถึงการเผชิญหน้าและการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศมหาอำนาจที่เป็นหุ้นส่วนในกลไกต่าง ๆ นอกเหนือจากนั้น เขตพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงยังขาดโครงสร้างด้านกฎหมายเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศ ในปี ค.ศ.1995 ได้ลงนามในสนธิสัญญาความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง 1995 เป็นครั้งแรก ได้แก่ กัมพูชา ลาว ไทย เวียดนาม ซึ่งหลังจากนั้นได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ที่ถือว่าเป็นกลไกด้านกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์และร่วมมือพัฒนาเขตพื้นที่แม่น้ำโขง แต่อย่างไรก็ตามกลไกดังกล่าวยังขาดข้อผูกมัดและการบังคับใช้ด้านกฎหมายในทางปฏิบัติ

ในปัจจุบันกลไกต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง ยังขาดความเชื่อมโยงที่สอดคล้องกับวาระการประชุมต่าง ๆ ของอาเซียน และยังไม่ได้รับความสนใจที่เพียงพอจากกลุ่มประเทศอาเซียนชายฝั่งทะเล หนึ่งในกลไกที่มีความคืบหน้าอย่างเห็นได้ชัด คือความร่วมมือแม่น้ำโขง-ล้านช้าง (LMC) ที่ถูกมองว่าอยู่ภายใต้การนำและครอบงำโดยจีน ซึ่งอาจจะมีปัญหาหลายอย่างที่มีข้อกังวลว่ากรอบความร่วมมือดังกล่าวอาจจะถูกนำไปใช้เพื่อผลประโยชน์ด้านการเมือง ดังนั้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ให้มีบทบาทในการประสานงาน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาต่าง ๆ ในภูมิภาค

ที่มา:www.seub.or.th

ทิศทางสำหรับประเด็นแม่น้ำโขงในอาเซียน

อาเซียนจำเป็นต้องเปลี่ยนจากกรอบแนวคิดเดิมที่คับแคบ เกี่ยวกับประเด็นแม่น้ำโขง แล้วหันมาใช้แนวคิดใหม่ ๆ เพื่อการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ให้แก่ภูมิภาคในภาพรวม อาเซียนต้องตื่นตัวเพื่อผนึกกำลังในการหามาตรการที่เด็ดขาดมากขึ้น เพื่อทันต่อสถานการณ์ มิฉะนั้นบทบาทที่เป็นศูนย์กลางของอาเซียนในภูมิภาคอาจจะถูกบั่นทอนลดลงไปเรื่อย ๆ พร้อมกับความมั่นคงและความเติมโตของภูมิภาคในระยะยาว การตกลงในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีต่าง ๆ จำเป็นต้องสอดคล้องในกรอบของกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเด็นการจัดการทรัพยากรน้ำ อาทิ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยทรัพยากรน้ำที่ไม่ใช้สำหรับการเดินเรือ (UNWC) เป็นหนึ่งในกลไกดังกล่าว ที่กลุ่มประเทศอาเซียนชายฝั่งควรรับมาเพื่อประกอบการพิจารณาเห็นชอบ

หลังจากประธานอาเซียนของเวียดนามสิ้นสุดลง ประธานอาเซียนต่อไปจากนี้ ควรส่งเสริมและผลักดันให้ประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในเขตพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงให้เป็นวาระการประชุมของอาเซียนอย่างทันท่วงที พร้อมมีเป้าหมายชัดเจนและมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันฟิลิปปินส์ในฐานะที่เป็นผู้ประสานงานกรอบการเจรจาอาเซียน จีนควรพิจารณาเสนอประเด็นแม่น้ำโขงเข้าไปในวาระการประชุมการเจรจาอาเซียน-จีน ในวาระต่อจากนี้ไปที่สามารถกลายเป็นแรงผลักดันส่วนหนึ่งเพื่อส่งเสริมความร่วมมือที่ดีขึ้นระหว่างกรอบความร่วมมือ LMC และกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ อย่างเช่นคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงและอื่น ๆ

Vglobalnews
Share :
Từ khóa:
Other news
Gửi thảo luận trên Facebook