Toggle navigation
เวียดนามในฐานะประธานอาเซียนและสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
03/04/2020 | 02:05 GMT+7
Share :
ในปีนี้เวียดนามได้รับไม้ต่อทำหน้าที่ประธานอาเซียนหลังจากประเทศไทยสิ้นสุดวาระเป็นประธานเซียนในปีในเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 2019 โดยที่เจ้าภาพปการประชุมเซียนปี 2020
ได้ตั้งวาระการประชุมในครั้งนี้ว่าความหลากหลายและสิ่งท้าทาย อาเซียนในฐานะที่เป็นองค์การแห่งหนึ่งได้ยอบรับกับการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิรัฐศาสตร์ในบางประเด็นและยอมรับว่าภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกจะเป็นโครงสร้างภูมิรัฐศาสตร์ระดับภูมิภาคที่กว้างใหญ่กว่าซึ่งอาเซียนเองจำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ฉบับหนึ่งสำหรับโครงสร้างภูมิรัฐศาสตร์ดังกล่าวด้วย ผลพวงจากแนวยุทธศาสตร์ดังกล่าวนก็คือแถลงการณ์วิสัยทัศน์อินโด-แปซิฟิกซึ่งได้วางกรอบการดำเนินการไว้ว่าอาเซียนในฐานะที่เป็นองค์การแห่งหนึ่งจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อที่จะสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของโครงสร้างดุลอำนาจในภูมิภาค

สถานการณ์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเป็นประเด็นท้าทายต่อไปสำหรับประธานอาเซียนในทุกปี ไม่ว่าจะเป็นประเด็นความตึงเครียดในเขตทะเลจีนใต้ที่เกิดจากการผงาดขึ้นมาข้องจีนที่มีคตวามเด็ดขาดมากยิ่งขึ้น หรือปัญหาหมอกควันที่อินโดเนเซีย และความตึงเครียดระหว่างอินโดเนเซียกับจีนเกี่ยวกับปัญหากการประโมงผิดกฏหมายในทะเลจีนใต้ซึ่งปัญหาหมอกควันที่อินโดเนเซียและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ จำเป็นต้องแก้ปัญห่ด้วยความร่วมมือซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นอาเซียนอาจจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อเผชิญหน้ากับภาวะเศรฐกิจถดถอยที่กำลังเกิดขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโคโรน่ารวมทั้งแนวโน้มเศรฐกิตที่ถดถอยลงเรื่อย ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อเอเชียและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอีกด้วย สิ่งท้าทายอีกประเด็นหนึ่งสำหรับการเป็นประธานอาเซียนในปีนี้ก็คือเวียดนามจะทำอย่างไรเพื่อที่จะสามารถทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนต่าง ๆ ในฐานะเป็นคู่กรณีฝ่ายหนึ่งในความขัดแย้งทะเลจีนใต้สามารถเข้าใจและเห็นพ้องต้องกันว่าประมวลการปฏิบัติในทะเลจีนใต้ฉบับหนึ่งที่จะสร้างขึ้นมาด้วยกันสามารถเป็นกรอบกฏหมายที่มีการปฏิบัติตามและมีบทลงโทษต่าง ๆ ซึ่งประมวลการปฏิบัติในทะเลจีนใต้ฉบับร่างเป็นเอกสารสำคัญชุดใหญ่ชุดหนึ่งที่ครอบคลุมทั้งความใฝ่ฝันและจุดยืนด้านกฏหมายของประเทศคู่กรณีต่าง ๆ อย่างไรก็ตามการที่อาเซียนสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวและสามารถมีฉบับร่างร่วมกันยังเป็นภารกิจที่ไม่ง่ายแต่อย่างใด เวียดนามจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยเทคนิคการทูตที่เฉียบฉลาดและการเจรจาที่เชียวชาญ นอกเหนือจากนั้นเวียดนามยังถูกจับตาว่าเป็นประเทศที่แข็งเกร่งและมีเศรฐกิจที่พัฒนอย่างรวดเร็วที่จำเป็นต้องมีบทบาทมากขึ้นในระดับภูมิภาคซึ่งจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนกรอบความร่วมมือที่ตั้งไว้ก่อนหน้านี้เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและเห็นพ้องต้องกันรวมทั้งมาตราการต่าง ๆ เพื่อหาข้อสรุปรวมกันในการเจราจาระหว่างกัน การประชุมรัฐมนตรีการต่างประเทศที่จะเกิดขึ้นในไตรมาสแรกของแต่ละปีจะเป็นตัวชี้วัดที่จะกำหนดวาระการประชุมต่าง ๆ ในตลอดทั้ง เวียดนามในฐานะเป็นประเทศที่มีเศรฐกิจเติมโตอย่าวก้าวกระโดดและยังเป็นสมาชิกของ APEC และภาคีหนึ่งในการเจรจาข้อตกลงการค้า RCEP จึงจำเป็นต้องทำให้ชัดเจนว่าการลงนามของ RCEP จะมีอีนเดียเข้ามารวมด้วยหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามหากเวียดนามดจะดึงอีนเดียกับมาเจรจากันอีกครั้งในเมื่อยังจำเป็นต้องรักษาความสัมพันธ์และหุ่นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่ดีกับอีนเดียประเด็นนี้อาจจะเป็นสิ่งท้าทายกระทบบทบาทประธานอาเซียนก็เป็นไปได้ซึ่งก่อนหน้านี้อีนเดียเองได้ตัดสินใจที่จะไม่เข้ารวมการประชุมบาหลีเพื่อปรึกษาหารือเรื่อง RCEP กับอาเซียนไปเรียบร้อยแล้ว


เวียดนามได้รับหน้าที่เป็นประธานอาเซียนจากประเทศไทย

ถึงแม่ว่าการเป็นประธานอาเซียนในครั้งนี้ยังมีปัญหาหลากหลายอย่างเมื่อย้อนไปดูการเป็นประธานอาเซียนของเวียดนามในปี ค.ศ. 2011 ที่ยังมีปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้แทบจะเหมือนเดิมแต่เวียดนามยังยึดมั่นในแนวทางอาเซียนหรือ ASEAN way เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ แทนที่จะนำเสนอแนวคิดหรือมาตรการแก้ไข้ปัญหาแบบคิดนอกกรอบใหม่ๆซึ่งบรรยกาศด้านภูมิรัฐศาสตร์และแรงกดดันเชิงยุทธศาสตร์ต่าง ๆ อาจจะทำให้กระบวนการตัดสินใจยุ่งยากมากขึ้นและปัญหาเหล่านี้ต้องการมีการปรับตัวทั้งในด้านการสร้างฉันทามติและการแก้ไขปัญหารวมกัน ในระดับระหว่างประเทศมักจะมีคนตั้งคำถามว่าความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนยังเป็นเครื่องมือที่มีประเสิทธิภาพในการแก้ไข้ปัญหาทางทะเลหรือกำลังลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันโครงการประชาคมอาเซียนทั้งในด้านการเมืองและความมั่นคง เศษรฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมจะต้องมีการทบทวนครึ่งแรกในปี 2020 เนื่องจากว่าปีค.ศ. 2025 จะเป็นกำหนดเวลารอบสุดท้ายสำหรับแผนพิมพ์เขียวอาเซียนซึ่งข้อริเริ่มต่าง ๆ เกี่ยวกับแผนปฏิบัติบูรณาการอาเซียน III (2016-2020) ยังต้องการความพยามมากขึ้นในเมื่อดำเนินการในช่วงที่ผ่านมาได้บรรลุแค่ 19 รายการของรายการทั้งหมด 26 รายการรหรือ 73.1%

ปัญหาอย่างหนึ่งที่ท้าทายประเทศอาเซียนทั้งหลายมากที่สุดอาจจะเป็นการเผชิญหน้ากับสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 (2019-nCoV) ที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วภูมิภาคและร่วมมือกันจัดทำแผนการรอบด้านในระดับภูมิภาคซึ่งอาจจะรวมถึงการสร้างศูนย์ปฏิบัตรการฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับภูมิภาค การเสริมสร้างเครือข่ายห้องทดสอบด้านสาธารณสุขระดับภูมิภาค และการติดตามการทำงานของศูนย์ประชาสัมพันธ์ความเสี่ยง ตลอดจนการถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของจีนในการต่อสู้กับโรคระบาดดังกล่าวซึ่งเวียดนามจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างเร่งด่วนเนื่องจากว่าปัญหาดังกล่าวอาจจะมีผลกระทบเป็นอย่างมากทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

ในส่วนเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพทะเลจีนใต้การปฏิบัติตามสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเป็นปัญหามากและจำเป็นต้องมีการทบทวนและกำหนดข้อบังคับใหม่สำหรับประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ ในภูมิภาคซึ่งประเด็นหนึ่งที่ประเทศหุ้นส่วนเจรจาต่าง ๆ ของอาเซียนเห็นพ้องต้องกันได้ก็คือประเด็นเรื่องความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยพิบัติ รวมถึงการต่อต้านการก่อการร้าย และการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรม

ในอีกประเด็นหนึ่งการที่เวียดนามได้รับบทบาทเป็นสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติถือว่าเป็นโอกาสที่หาได้ยากที่จะทำให้เวียดนามสามารถเชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาต่าง ๆ ของอาเซียนกับข้อริเริ่มต่าง ๆ ของสหประชาชาติซึ่งในประเด็นนี้ยังจำเป็นต้องมีการศึกาวิจัยเชิงลึกและความพยายามมากยิ่งขึ้นในการหาจุดรวมระหว่างวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025 และวาระการประชุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ 2030 ซึ่งในส่วนนี้เวียดนามอาจจะรับภารกิจในการผลักดันการศึกษาความเป็นไปได้ นอกจากนั้นปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการค้ายาเสบติด การค้ามนุษและการค้าเถื่อนจำเป็นต้องให้ความสำคัญทั้งในระดับอาเซียนและระดับสหประชาชาติ ในขณะเดียวกันอาเซียนได้ให้ความเห็นชอบกับแผนการปฏิบัติในการต่อต้านและป้องกันกลัทธิหัวรุนแรงที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยที่จำเป็นต้องมีการสนุบสนุนและการมีส่วนร่วมของสหประชาชาติซึ่งบทบาทของเวียดนามในครั้งนี้จะเป็นตัวเชื่อมเพื่อกระตู้นให้ความพยายามของภูมิภาคได้ยกระดับในเวทีโลก ในประเด็นความมั่นคงทางไซเบอร์ทั้งอาเซียนและยูเอ็นได้คำนึงถึงประเด็นเรื่องนี้อยู่เพียงแต่ว่ายังมีช่องโหว่ในส่วนเกี่ยวกับกลไกการติดตามระดับภูมิภาค ยกตัวอย่างเช่นข้อริเริ่มอาเซียนเพื่อเสริงสร้างความสามารถด้านความมั่นคงทางไซเบอร์และศูนย์ความมั่นคงทางไซเบอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากญี่ปุ่นและสิงคโปร์ตามลำดับซึ่งเวียดนามอาจจะผลักดันประเด็นเหล่านี้ในสหประชาชาติเพื่อส่งเสริมให้กลไกเหล่านี้มีความเข้มแข็งมากขึ้น นอกจากนั้นความพยาบามของอาเซียนจำเป็นต้องมีความร่วมมือและปรับให้เข้ากับแนวโน้มของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ในเมื่อการเชื่อมโยงทางดิจิตอลยังไม่เพียงพอซึ่งจำเป็นต้องมีกลไกการหารือเป็นประจำระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

ยิ่งไปกว่านั้นเวียดนามต้องเห็นถึงความเป็นไปได้ของการทำข้อตกลงเชิงปฏิบัติระหว่างอาเซียนกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศซึ่งประเด็นเรื่องนี้จำเป็นต้องมีคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติให้ความสำคัญเป็นพิเศษเพื่อผลักดันให้มีกรอบปฏิบัติการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในด้านความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ ความมั่นคง และมาตรการป้องกันต่าง ๆ ซึ่งประเด็นนี้อาจจะมีการประยุกต์ใช้ในอนาคตทั้งในด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์และการประยุกต์ใช้ กล่าวได้ว่าภายใต้ยูเอ็นเวียดนามต้องพยายามเป็นพิเศษเพื่อระดมการสนับสนุนในการดำเนินการตามสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปลอดจากอาวุธปรมาณู SEANWFZ อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อยื่นประเด็นเรื่องนีให้คณะกรรมการชั้นต้นของสภาสหประชาชาติได้พิจารณา

นอกจากนั้นอาเซียนยังเผชิญหน้ากับปัญหาอื่น ๆ อีกหลายเรื่องที่เกี่ยวกข้องกับการประโมงผิดกฏหมายหรือ IUU ซึ่งอาเซียนจำเป็นต้องหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาเพื่อการแก้ไขในระดับโลกและสามารถให้ความเห็นชอบต่อสนธิสัญญาว่าด้วยเรื่องการประโมงผิดกฏหมายซึ่งเวียดนามเองจะต้องเน้นย้ำประเด็นนี้เป็นพิเศษภายใต้วาระการประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ นอกเหนือจากนั้นเวียดนามยังต้องหยิบยกประเด็นอื่น ๆ ขึ้นมาเพื่อการแก้ไขด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับการศึกษา การส่งเสริมและปกป้องสิทธิของเด็กและสตรี ตลอดจนการพัฒนาทักษะ และการฝึกอบรมวิชาชีพต่าง ๆ ในส่วนเกี่ยวกับประเด็นโลกร้อนและปัญหาสิ่งแวดล้อมยังเป็นวาระการประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติมาโดยตลอดซึ่งเวียดนามต้องหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาเพื่อแสดงถึงความกังวลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และความจำเป็นที่ต้องมีความพยายามระดับโลกเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ส่วนประเด็นอื่น ๆ อาจจะมีเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการพื้นที่ดินพรุ ปัญหาหมอกควันด้วยการสนับสนุนทางการเงินซึ่งการจัดการภัยพิบัติเหล่านี้จำเป็นต้องดำเนินการด้วยการนำเสนอและปฏิบัตอย่างระมัดระวังแล

กล่าวคือวาระการประชุมของอาเซียนจำเป็นต้องมีความพยายามมากขึ้นเนื่องจากว่าโครงกานข้อริเริ่มในหลาย ๆ ด้านจะมีการทบทวนในปี 2020 รวมทั้งการวางแผนรอบด้านเพื่ออนาคต ในขณะเดียวกันในประเด็นต่าง ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติเวียดนามจะต้องเน้นย้ำความยึดมั่นในภารกิจของประเทศริมฝั่งต้นทางและปลายทางตลอดจนประเด็นเรื่องมลพิษทางน้ำ การส่งเสริมการลงทุนที่เสี่ยงต่อการเกิดภับพิบัติในระดับระหว่าวประเทศ แท้ที่จริงแล้วนั้นปัญหาสิ่งแวดล้อมและการสร้างเขื่อนบนบริเวณแม่น้ำโขงอาจจะดึงดูดความสนใจเป็นพิเศษในปีนี้ นอกดหนือจากนั้นเวียดนามถึงแม้จะเจอสิ่งท้าทายมากมายทั้งหมกนี้แต่ก็ยังสามารถที่จะรักษาไว้ความสมดุลระหว่างการทำหน้าที่สร้างสรรค์ในฐานะสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติและภาระหน้าที่ยังยึดมั่นอย่างเหนียวแน่นกับอาเซียน ปี 2020 อาจจะเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายอย่างยิ่งแต่ก็อาจจะเป็นปีแห่งการเห็นชอบพันธกรณีของภูมิภาคและโลกเพื่อส่งสริมความมั่นคง ความั่งคั่ง การพัฒนา การค้าและความเชื่อโยงซึ่งกันและกัน

ความคาดหวังสำหรับการเป็นประธานอาเซียนจองเวียดนาม
ในเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. 2562 เวียดนามได้รับหน้าที่เป็นประธานอาเซียนจากประเทศไทย
Vglobalnews

Share :
Từ khóa:
Other news
Gửi thảo luận trên Facebook